Business Insider ได้อ้างอิงข้อมูลจาก U.S. News ระบุ 20 อันดับประเทศแรกของโลกที่น่าไปใช้ชีวิตช่วงเกษียณ โดยมีประเทศไทยติดอับดับที่ 18 ของโลก และเป็น อันดับ 1 ของเอเชีย จากทั้งหมด 87 ประเทศ ดังนี้
1. สวิตเซอร์แลนด์
สวิตเซอร์แลนด์ คือ ประเทศน่าไปใช้ชีวิตหลังเกษียณมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของยุโรป และติดอันดับ 9 ประเทศที่ดีที่สุดในโลก แถมยังติดอันดับท็อป ๆ ของประเทศที่ร่ำรวยมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เป็นประเทศที่เปิดกว้างในการทำธุรกิจ เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างว่ามีความเป็นกลางทางการเมือง โดยประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีกองทุนบำเหน็จ บำนาญ ให้ 3 เสาหลัก ได้แก่ การประกันของผู้สูงอายุ ผู้รอดชีวิตด และการประกันทุพพลภาพ มีระบบการรักษาพยาบาลที่ดีที่สุด และอายุการเกษียณของผู้คนที่นี่ ผู้ชายจะเกษียณในอายุ 65 ปี ส่วนผู้หญิงจะเกษียณในอายุ 64 ปี
2. โปรตุเกส
โปรตุเกส เป็นประเทศที่มีวีซ่าทอง หรือ Golden Visa ที่สามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ 500,000 ยูโร มีค่าครองชีพต่ำกว่าสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 29% (ยกเว้นค่าเช่า) มีระบบรักษาพยาบาลฟรีสำหรับทุกคนที่อาศัยอยู่ในโปรตุเกสถาวร หรือพักอาศัยในโปรตุเกสตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป สำหรับช่วงอายุการเกษียณในประเทศโปรตุเกส คือ อายุ 66 ปี 7 เดือน แต่ปัจจุบันได้ลดลงเหลือ 66 ปี 4 เดือน
3. ออสเตรเลีย
ประเทศออสเตรเลีย เป็นประเทศที่มีวีซ่านักลงทุนเพื่อการเกษียณ สำหรับผู้เกษียณอายุโดยไม่มีผู้ที่อยู่ในอุปการะ มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่คนส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้บริการประกันสุขภาพจากภาคเอกชน ประเทศนี้มีกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ ที่มีการจัดการเงินออมสูงถึง 240,000 ดอลลาร์สหรัฐ คนออสเตรเลียจะได้รับเงินบำนาญตั้งแต่อายุ 67 ปี หากปฏิบัติตามกฏการอยู่อาศัยในประเทศอย่างถูกต้อง
4. นิวซีแลนด์
ประเทศนิวซีแลนด์มีค่าครองชีพสูงเทียบเท่ากับสหรัฐอเมริกา แต่มีการเสนอวีซ่าสำหรับผู้มาเยือนแบบชั่วคราวให้กับวัยเกษียณที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 66 ปี นิวซีแลนด์มีการจัดสรรเงินบำนาญแบบ flat-rate คือ แบบคงที่สำหรับผู้สูงวัยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีอายุ 20 ปี โดยอาศัยอยู่ในนิวซีแลนด์มานานกว่า 10 ปี หรือ ผู้ที่มีอายุ 50 ปี และอยู่อาศัยในนิวซีแลนด์มานานกว่า 5 ปี เป็นต้นไป โดยจะม่วีซ่าสำหรับผู้ปกครองที่อยู่อาศัยหลังเกษียณ โดยจะพิจารณาทางการเงินค่อนข้างสูง แต่จะได้รับการรักษาพยาบาลฟรี
5.สเปน
ประเทศสเปนมีแนวโน้มชีวิตหลังเกษียณค่อนจะมีค่าครองชีพต่ำ โดยจะมีค่าใช้จ่ายราว ๆ 25,000 ดอลล่าสหรัฐ / ปี หรือประมาณ 2,000 เหรียญสหรัฐ / เดือน ค่าภาษีอสังหาริมทรัพย์ในสเปนค่อนข้างต่ำ รวมไปถึงค่าเช่าที่อยู่อาศัย เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา แถมยังมีระบบสาธารณสุขที่ดี และมีการรองรับคนต่างชาติวัยเกษียณอีกด้วย โดผู้ที่เกษียณอายุในสเปน จะได้รับเงินบำนาญเมื่อมีอายุ 65 ปี
6. แคนาดา
ผู้ที่เกษียณในประเทศแคนาดา จะได้รับเงินบำนาญเมื่อมีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยแคนาดาจะมีกองทุน OAS (Old Age Security) ซึ่งการได้รับเงินบำนาญนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในแคนาดาด้วย นอกจากนี้ แคนาดายังมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับพลเมืองของประเทศ ผู้ที่อยู่อาศัยถาวร และประกันสุขภาพแบบจ่ายครั้งเดียวสำหรับพลเมืองตลอดชีพ
7. สวีเดน
สวีเดน เป็นประเทศที่ติดอันดับ ประเทศที่ดีที่สุดในโลกบ่อยครั้ง เนื่องจากชาวสวีเดนทุกคนสามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ทั่วถึง และค่าครองชีพต่ำกว่าสหรัฐอเมริการาว ๆ 33% แม้ว่าที่สวีเดนจะไม่มีการกำหนดอายุเกษียณอย่างเป็นทางการ แต่ผู้ที่อาศัยในประเทศสามารถขอรับเงินบำนาญรายเดือนได้ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 62 ปี ขึ้นไป สำหรับชาวอเมริกันที่ตอ้งการอยู่อาศัยในสวีเดนช่วงเกษียณ จะต้องขอวีซ่า Schengen
8. อิตาลี
อิตาลี ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่เปิดให้คนต่างประเทศเข้ามาอยู่อาศัยหลังเกษียณได้ โดยจะต้องมีรายได้อยู่ที่ 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ / ปี ที่อิตาลีมีค่าใช้จ่ายด้านอสังหาริมทรัพย์ต่ำกว่าสหรัฐ และมีระบบสาธารณสุขที่แข็งแกร่ง เนื่องจากประกันสังคมของสวีเดน นายจ้างและพนักงานต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ประมาณ 40% ของรายได้โดยรวม
9. กรีซ
กรีซ แม้ว่าจะมีค่ารักษาพยาบาลต่ำกว่าสหรัฐอเมริกา แต่ถือว่าเป็นประเทศที่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการจะใช้ชีวิตหลังเกษียณที่กรีซ อาจต้องย้ายเข้าไปทำงานก่อน จึงจะเกษียณได้ โดยผู้ที่มาอยู่อาศัยในกรีซตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินบำนาญในเมื่อมีอายุ 67 ปี
10. เดนมาร์ก
ประเทศเดนมาร์ก โดดเด่นในเรื่องของระบบประกันสุขภาพ มีระบบโครงข่ายคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้ด้อยโอกาสและยากจน ใครที่อาศัยอยู่ในเดนมาร์กตั้งแต่อายุ 15 ปี ไปจนถึงมีอายุ 65 ปี หรือ อาศัยในเดนมาร์กอย่างน้อย 40 ปี จะได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ แต่ถ้าหากอยู่ในเดนมาร์กน้อยกว่า 40 ปี จะได้รับเงินบำนาญ ประมาณ 1 / 40 ของเงินทั้งหมด แต่จะไม่มีวีซ่าสำหรับผู้เกษียณอายุ จึงต้องใช้วีซ่าระยะยาวสำหรับใครที่ต้องการอาศัยอยู่ในเดนมาร์กนานกว่า 3 เดือนขึ้นไป
มีประเทศไหนถูกใจใช่เลยบ้างเอ่ย แต่ก่อนจะเดินทางไปยังต่างประเทศ อย่าลืมเช็กอายุพาสปอร์ตด้วยนะ หากเหลืออายุน้อยกว่า 6 เดือน หรือพาสปอร์ตหมดอายุ ต้องรีบไปต่อหรือทำเล่มใหม่ทันที เผื่อวันไหนเดินทาง จะได้ไม่ต้องเสียเวลามานั่งรอเอกสารตกหล่น (เช็กสถานที่ทำพาสปอร์ตวันเสาร์)