ระวัง! คุณอาจกำลังทานอาหารที่มีสารพิษเจือปนอยู่

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผย ตรวจพบสารอะฟลาทอกซินในอาหาร เครื่องดื่ม ซึ่งเป็นพิษต่อตับ และอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้หากได้รับสารพิษชนิดนี้อย่างต่อเนื่อง 

dairy products
dairy products

อะฟลาทอกซิน คืออะไร

อะฟลาทอกซิน ภาษาอังกฤษ Aflatoxin คือ สารพิษชนิดหนึ่งที่ถูกพบการปนเปื้อนในอาหารได้มากที่สุด ซึ่งสารอะฟลาทอกซินเกิดจากเชื้อรากลุ่ม Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus สร้างขึ้น โดยพบในธรรมชาติมีอยู่ 4 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ Aflatoxin B1 , B2 , G1 และ G2 โดยชนิด B1 มีความเป็นพิษสูงที่สุด 

corn maize cob 2021 08 26 23 02 54 utc

เราสามารถพบสารอะฟลาทอกซินพบในที่ใดบ้าง

อะฟลาทอกซินมักจะพบในวัตถุดิบทางเกษตรที่นำมาแปรรูปและเก็บไม่เหมาะสม ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วลิสง แป้ง อาหารกรอบแห้ง รวมไปถึงผักและผลไม้ เครื่องเทศ และสมุนไพรต่าง ๆ เช่น ถั่ว ธัญพืช เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พิสทาชิโอ อัลมอนด์ แคคาเดเมีย ถั่วลันเตา เกาลัด แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งสาลี แป้งมันสำปะหลัง พริกแห้ง พริกป่น พริกไทย งา ปลาแห้ง ปลาเส้น กุ้งแห้ง กะปิ กระเทียม หัวหอม มะพร้าวแห้ง นอกจากนี้ยังพอสารอะฟลาทอกซินในกาแฟ กาแฟคั่วบด ชา และชาสมุนไพรอีกด้วย 

young asian woman wearing protection mask against novel coronavirus 2019 ncov wuhan coronavirus public train station is contagious virus that causes respiratory infection healthcare concept

อะฟลาทอกซินอันตรายไหม 

อะฟลาทอกซินเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ มีพิษต่อตับ ไต ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน และ ระบบสืบพันธุ์ และเมื่อได้รับสารพิษอะฟลาทอกซิน อาการในช่วงแรกจะไม่แสดงออกมา แต่จะมีอาการเมื่อเรื้อรัง หรือมีอาการรุนแรงแล้ว โดยจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติ ดังนี้ 

  • ภูมิคุ้มกันลดลง 
  • ทารกพิการแต่กำเนิด 
  • ทำให้เด็กโตช้าและแคระแกร็น 
  • มีอาการชัก 
  • หายใจลำบาก
  • ภาวะตับแข็ง 
  • โรคมะเร็งตับ 
  • โรคตับอักเสบเฉียบพลัน 
  • ตับวาย
  • สมองบวม
  • ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา 
  • กลุ่มอาการไรย์ (Reye’s syndrome) กลุ่มมีอาการทางสมองชนิดหนึ่ง 
immunity boosting food healthy lifestyle

ป้องกันสารอะฟลาทอกซินได้อย่างไรบ้าง 

  • เลือกซื้อวัตถุดิบและอาหารที่มีสภาพใหม่ บรรจุภัณฑ์มีมาตรฐาน สะอาด ไม่มีเชื้อรา
  • ซื้อวัตถุดิบ และอาหารแห้งที่ไม่มีกลิ่นเหม็นอับ และไม่อับชื้น 
  • อาหารแห้ง อาหารที่เกิดเชื้อราได้ง่าย ไม่ควรเก็บไว้เป็นเวลานาน ๆ เพราะเสี่ยงจะการสะสมเชื้อรา 
  • นำอาหารแห้งไปตากแดดจัด ๆ เพราะความร้อนจากแดดจะช่วยลดความชื้น และยูวีจากแสงแดดช่วยสลายสารพิษอะฟลาทอกซินได้ 

เนื่องจากอะฟลาทอกซินสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 260 องศาเซลเซียส การนำไปปรุงอาหารด้วยความร้อนธรรมดาร เช่น การทอด ผัด หุง ต้ม นึ่ง จึงไม่สามารถทำลายได้ ดังนั้น ควรระมัดระวังในการเลือกซื้ออาหาร รวมไปถึงการจัดเก็บอาหารให้เหมาะสมในแต่ละประเภท จะช่วยหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษอะฟลาทอกซินได้