ไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มาจากสถานีไฟฟ้าที่ส่งจ่ายผ่านสายไฟฟ้าแรงสูง เพื่อไปยังสถานีไฟฟ้าย่อย แล้วส่งไปยังหม้อแปลง เพื่อให้หม้อแปลงทำการแปลงกระแสของไฟฟ้าให้ต่ำลง ก่อนจะส่งไฟฟ้าไปยังบ้านเรือน อาคาร สำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ 

แม้ว่าไฟฟ้าที่ใช้งานตามสถานที่ต่าง ๆ จะมีการผ่านแปลงค่าของกระแสไฟฟ้าให้ต่ำลง และเหมาะสมต่อการใช้งานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุม เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และเพื่อให้สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่าที่สุด จึงทำให้ Load Center กลายเป็นอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอาคารขนาดกลาง ไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่ 

electric machines switches isolated white close up connect marker cable device

ก่อนอื่นเราจะพาไปรู้จักตู้ LP (Load Panel) ซึ่งเป็นภาพรวมกันก่อน 

ตู้ LP หรือ แผงควบคุมไฟฟ้าย่อย คือ แผงที่มีหน้าที่ควบคุมวงจรไฟฟ้า  มีเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อย (Miniature Circuit Breaker) หลายตัววางเรียงกันอยู่ โดยมีทั้งแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส สามารถใช้ร่วมกับระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย หรือ ระบบไฟฟ้าภายในอาคารขนาดกลาง สามารถใช้ทดแทน Sub Distribution Board ได้ โดยภายในจะมีการติดตั้งเบรกเกอร์ และส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้ 

  • Circuit Breaker คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร การใช้ไฟฟ้าเกิน ไฟดูด ไฟรั่ว หรือไฟช็อต โดยจะตัดระบบการทำงานทันที หากพบความผิดปกติของระบบไฟฟ้า โดยมี 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 1.) Low Voltage (สำหรับใช้ในบ้านเรือน) 2,) Medium Voltage (ใช้ในอาคารหรือสถานีย่อยนอกอาคาร) และ 3.) High Voltage (สำหรับการใช้กระแสไฟฟ้าแรงดันสูง) 
  • Pilot Lamp คือ ไฟแสดงสถานะการทำงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งภายในตู้ควบคุมไฟฟ้าย่อย โดยถูกแบ่งเป็น 3 ประเภทย่อยด้วยกัน ได้แก่ 1.) ไฟแสดงเพียงสถานะการทำงานเท่านั้น 2.) ไฟแสดงสถานการทำงานพร้อมสัญญาณเตือน และ 3.) ไฟแสดงสถานะการทำงานพร้อมปุ่มกด 
  • Overload Relay คือ อุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับ Magnetic Contactor โดยมีหน้าที่หยุดการทำงานของอุปกรณ์ภายในที่ทำงานหนัก เพื่อป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่เสียหาย 

โหลดเซ็นเตอร์คืออะไร 

เนื่องจาก Load Panel สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 

  • Load Panel 1 phase เป็น Load Panel ขนาดเล็ก คือ Consumer Unit มีจำนวนวงจรย่อยตั้งแต่ 2 วงจรขึ้นไป ติดตั้งบริเวณควบคุมห้องเล็ก ๆ นิยมใช้ในบ้าน หรือ อาคารขนาดเล็ก ใช้ระบบไฟ 1 เฟส 220 โวลต์ 
  • Load Panel 3 phase เป็น Load Panel ขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า Load Center หรือ โหลดเซ็นเตอร์ คือ ตู้ที่ใช้ในการควบคุมตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตอีกที เป็นโหลดเซ็นเตอร์ 3 เฟส เพราะนิยมใช้กับไฟ 3 เฟส 4 สาย ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้า มีจำนวนวงจรย่อยตั้งแต่ 12 วงจรขึ้นไป ติดตั้งในบริเวณที่ต้องโหลดวงจรย่อยรวมกันมาก ๆ เหมาะกับการติดตั้งควบคุมระบบไฟฟ้าในอาคารขนาดกลาง ไปตลอดจนถึงอาคารขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ 
01product copy

โหลดเซ็นเตอร์มีกี่ประเภท

ตู้ Load Center มี 2 ประเภท โดยแบ่งออกตามลักษณะการติดตั้ง คือ 

  • แบบ Main Lugs คือ ตู้โหลดที่ไม่มีเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) มีเพียงแค่ขั้วต่อสาย และ บัสบาร์ (Busbar) เท่านั้น บางครั้งใช้ควบคู่กับเซฟตี้สวิตช์ (Safety Switch) ใช้ติดตั้งบริเวณใกล้กับตู้ MBD และตู้ DB มีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับจำนวน Pole และความทนทานของตัวบัสบาร์ ควรเลือกใช้งานที่การทนกระแสของบัสบาร์ไม่เกิน 80% มีราคาสูงกว่า Main Breaker
  • แบบ Mani Circuit Breaker คือ ตู้โหลดที่มีเซอร์กิตเบรกเกอร์ตัดไฟภายในตัว มีทั้งแบบ 1 pole , 2 pole และ 3 pole แบบ MCCB (Molded Case Circuit Breaker) ทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟฟ้าผ่านบัสบาร์ ไปยัง เบรกเกอร์ลูกย่อย หรือ MCB (Miniature Circuit Breaker) คอยป้องกันเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อยทั้งหมดในแผง ส่วนใหญ่มักจะใช้ภายในบ้าน การเลือกใช้งานบัสบาร์ โดยเลือกที่การทนกระแสของบัสบาร์ไม่เกิน 80% เช่นเดียวกัน 
man electrical technician working switchboard with fuses installation connection electrical equipment close up

โหลดเซ็นเตอร์กับแผงย่อยต่างกันอย่างไร 

ส่วนใหญ่เป็นกล่องเหล็ก โดยทำงานคล้ายกับ Consumer Unit แต่แตกต่างกันที่มีหลายแถว และต้องใช้พื้นที่มากกว่า 1 พื้นที่ขึ้นไป ใช้ควบคุมตู้คอนซูมเมอร์อีกที ส่วนใหญ่ใช้กับไฟ 3 เฟส 4 สาย เหมาะกับการใช้ในอาคารขนาดกลาง อาคารขนาดใหญ่ อาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ สถานที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าแรงดันสูง และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในขณะที่คอนซูมเมอร์ จะใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส และในอาคารหรือสถานที่ขนาดเล็ก เช่น ที่อยู่อาศัย สำนักงาน หรือ อาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก 

สำหรับใครที่กำลังมองหาตู้ไฟ ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต หรือ Square D load center คุณภาพระดับสากล มาตรฐาน IEC มีความปลอดภัยสูง Square D load center ของ Schneider ทั้ง 2 แบบ ไม่ว่าจะเป็น แบบ Main Lug ตัวที่มีเบรกเกอร์หลัก ใช้ในการควบคุมการจ่ายไฟ โดยจ่ายกระแสไฟผ่านบัสบาร์ ไปยังวงจรย่อยแทน และ แบบ Main Breaker ที่มีเมนเบรกเกอร์ (main breaker) เป็นตัวควบคุมหลักการจ่ายกระแสผ่านบัสบาร์ สามารถติดตั้งได้ทั้งภายในอาคาร และ ภายนอกอาคาร มีฝาครอบกันน้ำ มีความคงทน แข็งแรง สามารถเข้าสายไฟได้ง่ายและสะดวก ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนก็ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน ติดตั้งรวดเร็ว บริการด้วยทีมงานมืออาชีพ และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง ติดต่อที่ SQD Groups ตัวแทนจำหน่ายและศูนย์รวมเบรกเกอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้า ตู้โหลดเซ็นเตอร์ Schneider ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วโลกมาอย่างยาวนาน